เมนู

ลักษณะโยนิโสมนสิการ กับลักษณะปัญญา ที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนามานี้ โยมฟังยังคลางแคลง
อยู่ นิมนต์อุปมาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะมหาบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐในศฤงคาร ลักษณะโยนิโสมนสิการกับลักษณะปัญญานี้ ถ้าจะเปรียบเป็นอันเดียว
เหมือนเกี่ยวข้าง ลักษณะชาวนาเกี่ยวข้าวนั้น เขาทำประการใด
อ้อ โยมเข้าใจอยู่
มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในมไหศวรรย์ ชาวนาเกี่ยวข้าวนั้นเขา
ทำอย่างไร
อ้อ ชาวนานั้นเขาเอาเท้าเหยียบต้นข้าวไว้มิให้ขยาย วามหตฺเถน มือซ้ายหน่วงเอา
รวงข้างนั้นมา ทกฺขิณหตฺเถน มือขวาจับเคียวเกี่ยวกระชากให้รวงข้าวขาดติดมือเบื้องซ้าย
ชาวนาทั้งหลายเขากระทำอย่างนี้ โยมรู้อยู่
มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐในสิริมไหศวรรย์ ความนี้ฉันใด มือซ้ายที่ถือรวงข้างไว้
ได้แก่โยนิโสมนสิการอันมีลักษณะถือเอา มือขวาที่ถือเคียวเกี่ยวรวงข้างตัดกระชากให้ขาดนั้น
ได้แก่ปัญญาอันมีลักษณะตัดให้ขาด ด้วยประการดังนี้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ฟังพระนาคเสนอุปมาก็ทรงพระปรีชาชื่นชม ตรัสว่า
พระผู้เป็นเจ้าอุปมานี้ กลฺโลสิ สมควรนักหนา สาธุสัตบุรุษผู้มีศรัทธาพึงเข้าใจเถิดว่า บุคคลที่
ไม่เกิดอีกนั้นคือพระอรหันตขีณาสพ ท่านไม่เกิดอีก คือท่านเข้านิพพาน
มนสิการลักขณปัญหา คำรบ 8 จบเท่านี้

สีลปติฏฐายลักขณปัญหา ที่ 9


ลำดับนั้นมา บรมกษัตริย์มีพระราชปุจฉาถามซึ่งอรรถปัญหาสืบต่อไปว่า ลักษณะที่จะ
ได้พระนิพพานไม่เกิดอีกนี้อาศัยเหตุอย่างไร
พระนาคเสนแก้ว่า ขอถวายพระพร บุคคลที่ไม่เกิดใหม่ไปพระนิพพานนั้นด้วยเหตุ 3
ประการ คือกุศลอันหนึ่งได้แก่บารมีสร้างมานั้นแก่กล้าวอย่าง 1 มีมนสิการอุตสาหะยึดหน่วงถือ

มั่นซึ่งตัวกุศลอย่าง 1 และเอาปัญญาตัดตัวอกุศลให้ขาดในสันดานอย่าง 1 นี่แหละพร้อมด้วยเหตุ
3 ประการจึงจะได้พระนิพพาน มิได้เวียนว่ายในวัฏสงสารเกิดเป็นร่างกายต่อไป ในกาลครั้งนั้น
ราชา อาห สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทร์บรมกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสถามว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้ากล่าวกับโยมว่า บุคคลไม่เกิดอีกด้วย
ได้กระทำกุศลอื่นไว้ โยมยังไม่เข้าใจ กุศลอันอื่นนั้นอย่างไร จงวิสัชนาแก้ไขให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐใน
ทวีปชมพูพื้น กุศลอันอื่นคือศีลบารมีและสติปัฏฐาน สมาธิและปัญญาบารมีเป็นต้นนี้
ของถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้
เป็นเจ้า สีลํ อันว่าศีลนี้ กึ ลกฺขณํ มีลักษณะอย่างไร นิมนต์วิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สีลํ อันว่าศีลนี้
ปติฏฺฐานลกฺขณํ มีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวง นี้แหละศีลนี้ประเสริฐใหญ่หลวง
เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวง คืออินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 ฌาน 4 วิโมกขธรรม 8 สมาธิ 1 สมาบัติ 8 ประการ ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
บุคคลจะไม่ถอยไม่เสื่อมจากกองการกุศลธรรมทั้งปวงนี้ ก็อาศัยศีลเป็นที่ตั้ง ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรจึงตรัสอาราธนาว่า อุปมาให้โยมเห็นแจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประ-
เสริฐในราชศฤงคาร เปรียบปานดุจพืชคามภูตคาม พืชคามคือพืชอันแรกงอกขึ้นนั้น และภูตตาม
ได้แก่ต้นไม้ใบหญ้าอันเทวดาสิง ปฐวึ นิสฺสาย อาศัยแผ่นดินแล้วงอกจำเริญแตกหน่อ กอก้าน
กิ่งใบ ผลิดอกออกผลต้นลำ ยถา มีอุปมาฉันใด ขอถวายพระพร โยคาวจโร พระโยคาวจรก็อาศัย
ปาติโมกขสังวรวิสุทธิศีลนั้น ยังอินทรีย์ 5 คือสัทธินทรีย์ 1 วิริยินทรีย์ 1 สตินทรีย์ 2 สมา-
ธินทรีย์ 1 ปัญญินทรีย์ 1 ให้จำเริญไป ๆ มีอุปไมยเหมือนต้นไม้ใบหญ้าพืชลดาวัลย์อันงอกคร่ำไป
อาศัยแก่แผ่นดินนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้า
อุปมาอุปไมย ให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไปกว่านี้
พระนาคเสนองค์อรหาธิบดีก็มีเถรวาจาถวายพระพร ว่า มหาราช ดูรานะบิตรพระ
ราชสมภาร เปรียบปานประดุจบุคคลทั้งหลายอันกระทำการกสิกรรมการไร่การนา การค้า

ล้อค้าเกวียนการสถลมารคเป็นการบกดาษไปทั้งพื้นปฐพี ปฐวี นิสฺสาย ก็อาศัยแก่แผ่นดิน
ฉันใด ศีลนี้ก็เป็นตั้งแห่งกุศลธรรม เมื่อโยคาวจรสถิตในปาติโมกขสังวรศีลนั้น ก็ยังปัญจอินทรีย์
5 ประการนี้มีอินทรีย์แห่งศรัทธาเป็นต้น คือให้มีศรัทธาเป็นใหญ่จำเริญได้ มีอุปไมยดุจบุคคล
ทั้งหลายกระทำการอาศัยพื้นแผ่นดินฉะนั้น ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลนคร มีพระราชโองการอาราธนาว่านิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอุปมา
ให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไปกว่านี้
พระนาคเสนผู้ปรีชาจึงอุปมาต่อไปอีกเล่าว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ดุจหนึ่งว่าบุคคลมีวิชาการข้างเล่นเต้นโลดลอดบ่วงและวิชาบังเหลื่อมนั้น ย่อมขุดแผ่นดิน
หินกรวดหลักตอให้ราบรื่นกระทำพื้นภูมิภาคให้เสมดเป็นอันดี อาศัยพื้นแผ่นดินเป็นที่ตั้ง จึงได้
แสดงวิชาของอาตมา ยถา มีครุวนาฉันใด โยคาวจรเจ้าตั้งอยู่ในพระปาติโมกขสังวรศีลอาศัยศีลนั้น
ก็ยังปัญจอินทรีย์ 5 คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ให้จำเริญขึ้น
เปรียบดุจพื้นแผ่นดินอันเป็นที่ตั้ง เหมือนพวกหกคะเมนเต้นโลดลอดบ่วงนั้น ขอถวายพระพร
พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะบพิตพระราชสมภาร เปรียบดุจ
นายวัฑฒกีสร้างพระนครราชธานี โสธาเปตฺวา จึงถางที่ให้เตียน ขาณุกณฺฐกํ นำเสี้ยน
หนามหลักตอตัดโคนให้ราบ สมํ กตฺวา ปราบพื้นให้ราบดีแล้วจึงกระทำเป็นราชธานีนคร ยถา
ฉันใด พระโยคาวตรก็รักษาศีลสังสรให้บริสุทธิ์ผ่องใสเป็นอันดี ยังอินทรีย์ 5 คือสัทธินทรีย์ คือ
วิริยินทรีย์ คือสตินทรีย์ คือสมาธินทรีย์ คือปัญญินทรีย์ ให้จำเริญเป็นอันดี เหมือนวัฑฒกี
อันสร้างนครนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ทรงได้ยินพระนาคเสนอุปมา มีพระโองการตรัสว่า นิมนต์พระ
ผู้เป็นเจ้าอุปมาให้ยิ่งกว่านั้น
พระนาคเสน ถวายพระพรแก่พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีเป็นอุปมาว่า ยังมีโยธาจตุรงค์
อันจะเข้าสู่พิชัยสงครามรบพุ่งฆ่าฟันซึ่งปัจจามิตรอันมาก็ย่อมหาที่ชัยภูมิอันดี กระทำพื้นปถพี
ให้ราบปราบให้ดีที่จะตั้งค่ายคู ครั้นศัตรูมา โยธานั้นก็รบชนะมีชัย ยถา มีครุวนาฉันใด พระโย
คาวจรก็อาศัยศีลสังวรเป็นที่ตั้งยังอินทรีย์ 5 คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ให้บังเกิดจำเริญในบวรสันดาน เปรียบปานดุจทหารโยธาอันอาศัยกระทำที่ชัยภูมิ

ก่อนจึงมีชัยฉะนั้น อนึ่งเล่าก็สมด้วยพระพุทธฎีกา สมเด็จพระบรมโลกนายกยิ่งบุคคลทศพล
ญาณตรัสประทานธรรมเทศนาไว้ดังนี้ว่า
สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเย ชฏนฺติ
อยํ ปติฏฺฐา ธรณีว ปาณีนํ อิทญฺจ มูลํ กุสลาภิวุฑฺฒิยา
มูลมิทํ สพฺพชินานุสาสเน สสีลกฺขนฺโธ วรปาติโมกฺขิโยติ ฯ

ในกระแสพระพุทธฎีกา ตรัสว่า ฝูงชนคนในมีใจศรัทธา สีเล ปติฏฺฐาย ตั้งอยู่ในศีลรักษา
ศีลไว้ผู้นั้นแหละได้ชื่อว่า เป็นภิกษุ จำเริญไปในสมาธิจิตและสมาธิปัญญา ก็ยังสมาธิจิตแล
สมาธิปัญญาให้จำเริญ นิปโก ก็จะมีปัญญาแก่กล้า เหตุว่ามีเพียรให้กิเลสเร่าร้อน ก็จะถึงธรรม
วิเศษกำจัดเสียซึ่งกิเลสตัณหาภายนอกภายใน ให้ขาดไปจากสันดาน ศีลเป็นเหตุที่จะให้ถาวร
เป็นผลเป็นรากเหง้าเป็นลำเป็นต้น ที่จะให้เกิดก่อกองกุศล ธรณีว ดุจปฐพีดลพื้นภูมิภาค
แผ่นธรณีอันหนาแน่นได้สองแสนสี่หมื่นโยชน์ อันเป็นที่ตั้งแห่งโขดเขาลำเนาที อันเป็นที่พึ่ง
แก่นาคครุฑมนุษยนิกรอมรภูตปีศาจสรรพสัตว์ทุกชาติย่อมอาศัยทั่วทิศแดนธรณี มีครุวนา
ฉันใด ศีลที่รักษาไว้ก็เหมือนกัน ศีลนั้นคือศีลขันธ์ได้แก่พระปาติโมกข์อันประเสริฐ อันจะบังเกิด
ตั้งมั่นไปในพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นที่สั่งสอนสืบมา สพฺพชินานํ แห่งสมเด็จพระชิเนนทร
สัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ก่อนนั้น นี่แหละคำอาตมาอันวิสัชนาก็สมด้วยพระพุทธฎีกาโปรดไว้ฉะนี้
ขอถวายพระพร
เมื่อพระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขเป็นอุปมาอุปไมยฉะนี้ สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นธรณีก็ชื่น
ชมภิรมย์ยินดี ตรัสว่าปัญหาซึ่งพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้ก็สมควรนักหนาในกาลบัดนี้
สีลปติฏฐานลักขณปัญหา คำรบ 9 จบเท่านี้

ลัทธาลักขณปัญหา ที่ 10


ราชา

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหา
ต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจ้าผู้มีปรีชา อันว่าศรัทธานี้มีลักษณะกี่
ประการ
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ศรัทธานี้มีลักษณะ 2
ประการคือ สัมปสาทลักขณสัทธาประการ 1 สัมปักขันทลักขณสัทธาประการ 1 ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการซักว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน
ผู้ประกอบด้วยปรีชา สัมปสาทลักขณสัทธานี้เป็นประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อันว่าสัมป-
สาทลักขณสัทธานั้นเมื่อจะบังเกิดนั้นข่มขี่เสียซึ่งนิวรณธรรม ให้ดวงจิตนั้นผ่องใส อนาวิลํ ไม่
ขุ่นมัวไปด้วยมลทิน เมื่อจะรักษาศีลให้ทานสวนาการฟังพระสัทธรรมเทศนา และจำเริญเมตตา
ภาวนา จิตนั้นมีสภาวะผ่องใสอย่างนี้ได้ชื่อว่าสัมปสาทลักขณสัทธา ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอุปมาอุปไมย
ไปก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะพิตรพระราชาสมภาร เปรียบปาน
ดังสมเด็จบรมจักรพรรดิราชอันยกพลจตุรงคนิกรลีวาศไปสู่ประเทศแห่งหนึ่ง จึงข้ามแม่น้ำน้อย
นั้นไปด้วยพลหัตถีช้างมา ปรากฏพลบทจรเดินลำลอง ตกว่าท้องน้ำนั้นก็ขุ่นมัวนักหนา พอ
สมเด็จบรมจักรพรรดิราชนั้นอยากจะเสวยอุทกังเป็นกำลัง จึงมีพระราชโองการสั่งให้ตักเอา
อุทกังอันขุ่นมัว ชาวพนักงานกลัวพระราชอาญา จึงตักอุทกังขุ่นนั้นมาใส่ในพระเต้าแก้ว แล้วน้ำ
นั้นก็ผ่องใสในทันที จึงเอาน้ำในพระเต้าแก้มณีถวายในทันใดนั้น ความนี้ฉันใด สัมปสาท-
ลักขณสัทธานี้ อุปมาดุจพระเต้ามณีกำจัดเสียซึ่งเปือกตมอันขุ่นมัวคือตัวนิวรณธรรมให้สิ้นไป
อุทกังก็ผ่องใส ได้แก่ดวงจิตอันมิได้ติดด้วยนิวรณธรรม คือ โลโภ โทโส โมโห จิตปราศจากโทษ
แล้วก็ผ่องใส อันว่าสัมปสาทลักขณสัทธามีลักษณะดุจเปรียบมาฉะนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปัญญาปรีชา อันว่าสัมปักขันทลักขณสัทธานี้อย่างไรเล่า
พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าจึงถวายพระพรวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
อันว่าสัมปักขันทลักขณสัทธานี้ ได้แก่พระยติโยคาวจรอันมีจิตผ่อนให้เบาจากราคาทิกิเลส ก็ได้